วัดต้นสน จ.อ่างทอง

 

***************************************

ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี

เพื่อสมทบทุนสร้างแผงโซล่าเซลล์

สองพันห้าร้อยกอง  ๆ ละ สองพันห้าร้อยหกสิบบาท

ที่วัดต้นสน ต.ตลาดหลวง อ.เมือง จ.อ่างทอง

วันอาทิตย์ ที่ ๕  พฤศจิกายน ๒๕๖๖

วัดต้นสน ต.ตลาดหลวง อ.เมือง จ.อ่างทอง ๑๔๐๐๐ 

   

โทรสอบถามได้ที่เบอร์วัด 035-611198 / 086-122-5888

 

Title of the document รายชื่อเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี วัดต้นสน ต.ตลาดหลวง อ.เมือง จ.อ่างทอง ในวันอาทิตย์ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖ รายชื่อเจ้าภาพกองพิเศษ ๑๐๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษที่ ๑ พระเทพสุวรรณมุนี เจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง เจ้าอาวาสวัดต้นสน ๑๐๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษที่ ๒ คุณชูชัย - คุณสุปราณี จตุพิธพรจันทร์ จ.ภูเก็ต ๑๐๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษที่ ๓ คุณสมภพ ไทยธีระเสถียร กรุงเทพฯ ๑๐๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษที่ ๔ อุบาสิกาสุพรรษา จุลบุตร เจ้าหน้าที่ธุรการคอมพิวเตอร์ วัดต้นสน ๑๐๐,๐๐๐ บาท #####เจ้าภาพกองพิเศษ ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๑ พระครูวิเศษชัยวัฒน์ เจ้าอาวาสสวัดชัยมงคล ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๒ พระสุวรรณวชิราทร รองเจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง เจ้าอาวาสวัดอ่างทอง ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๓ คุณเตชพล - คุณธนวรรณ ฐิตยารักษ์ จ.ปทุมธานี ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๔ คุณวาลิน ปลื้มจิตต์ (ปู) จ.อ่างทอง ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๕ คุณเย็นจิตร บุญชัยศรี กรุงเทพฯ ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๖ คุณทองคำ แย้มมนัส จ.อ่างทอง ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๗ คุณพ่อคุ่ย - คุณแม่ต่อม เมฆหมอก จ.อยุธยา ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๘ คุณธนิต บัวเขียว กรุงเทพฯ ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๙ คุณสมบูรณ์ ไพรัชเวชภัณฑ์ จ.อ่างทอง ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๑๐ คุณมัญจกร โภคธนสรณ์ ร้านอาหารข้าวสาร ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๑๑ คุณสำราญ - คุณเกษร แสงพฤกษา จ.ปทุมธานี ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๑๒ คุณประเทือง โตมะโน จ.อ่างทอง ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๑๓ คุณสมบูรณ์ ชูหิรัญ จ.อยุธยา ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๑๔ คุณยุพา สุขไพศาล จ.สระบุรี ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๑๕ คุณอทัยทิพย์ เชื้ออาษา จ.ชลบุรี ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๑๖ คุณจรรยา ศรีสวัสดิ์ กรุงเทพฯ ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๑๗ อาจารย์ผ่องกานต์ ผ่องไสวสวงค์ ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๑๘ คุณเยาวลักษณ์ เสียงสุวรรณ จ.อ่างทอง ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๑๙ คุณบุญส่ง เรียบร้อย คุณสุธิดา รูล ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๒๐ คุณสมพงษ์ - คุณรำเพย นวลจันทร์ จ.อยุธยา ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๒๑ คุณละมูล ขาวสอาด ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๒๒ พระครูสมุห์นรินธร นริสฺสโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดต้นสน ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๒๓ คุณพลอยนภัส วราเจริญโรจน์ ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๒๔ คุณทับทิม สืบพงษ์ จ.สุพรรณบุรี ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๒๕ คุณจันทร์เพ็ญ คุณจิรนันท์ คุณมาลัย พานทอง คุณฉวย มอยเซอร์ ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๒๖ คุณมานิตย์ สังข์ทอง จ.อ่างทอง ๑๐,๐๐๐ บาท กองพิเศษ ๒๗ คุณจำลอง ธรรมเนียมใหม่ ๑๐,๐๐๐ บาท ### เจ้าภาพกองละเท่า พ.ศ. ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๑ คุณถาวร จุลบุตร จ.ปทุมธานี ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๒ คุณหยิม - คุณถวิล โอ่งเคลือบ จ.ปทุมธานี ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๓ คุณพิศมัย จุลบุตร จ.ปทุมธานี ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๔ คุณทวีทรัพย์ แซ่เฮ้ง จ.สระบุรี ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๕ คุณภูดิท (เพ็ง) คุณพิศมัย จะทารัม วัดต้นสน ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๖ คุณจันทร์เพ็ญ บัวงาม จ.ลพบุรี ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๗ อาจารย์บุหงา อู่ทรัพย์ จ.อยุธยา ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๘ ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๙ ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๑๐ พระครูสมุห์นรินธร นริสฺสโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดต้นสน ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๑๑ คุณพิเศษ - คุณจิราภรณ์ ศรีมั่น กรุงเทพฯ ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๑๒ คุณสุมล ประจุพร วัดต้นสน ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๑๓ ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๑๔ ร้านสุขสมบูรณ์อ่างทอง ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๑๕ คุณพิจิตร - คณกวี ศรีมั่น จ.อยุธยา ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๑๖ คุณยุวดี คนูดเซ่น ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๑๗ คุณพิสิฏฐ์ - คุณธนวรรณ โพธิ์ใบ จ.อยุธยา ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๑๘ คุณสนใจ คุณละออ สวยประดิษฐ์รัตน์ คุณมาโนชญ์ คุณปิยนุช ทองแพ ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๑๙ แม่ชีสุมล ประจุพร วัดต้นสน ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๒๐ คุณแก้ว พาราพันธกุล จ.สมุทรปราการ ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๒๑ คุณวนิดา สุวรรณการ จ.สมุทรปราการ ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๒๒ พ.ต.อ.จักรทิพย์ - คุณภัทรมล พาราพันธกุล จ.ชลบุรี ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๒๓ ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๒๔ คุณราตรี ทองสุข จ.อ่างทอง ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๒๕ คุณวิภาศิริ ไม้หอม จ.สมุทรสาคร ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๒๖ คุณผ่องศรี แซ่เต็ง จ.สมุทรสาคร ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๒๗ คุณบุญช่วย ฉายาทัพ กรุงเทพฯ ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๒๘ คุณโกสินทร์ ไตรนิคม จ.ประทุมธานี ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๒๙ อาจารย์บุญเหลือ - อาจารย์สมพงษ์ ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๓๐ คุณเศียร - คุณสวง ภูษาทอง กรุงเทพ ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๓๑ คุณประภารัตน์ ขุนภักดี วัดต้นสน ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๓๒ คุณกัลยา ภู่ชัยวัฒนานนท์ จ.พังงา ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๓๓ คุณกิมลี้ เจิมมงคล จ.ลพบุรี ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๓๔ คุณสุชิน บัวเขียว จ.อ่างทอง ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๓๕ ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๓๖ ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๓๗ ผู้ใหญ่ดวง - คุณสวาท แก้วเจริญผล จ.อยุธยา ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๓๘ คุณธงชัย ปรีชาชัยสุรัตน์ จ.นนทบุรี ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๓๙ คุณสมศักดิ์ - คุณพรภิรมย์ ไชยคราม จ.สุพรรณบุรี ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๔๐ คุณแฉล้ม จิตกล้า กรุงเทพฯ ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๔๑ คุณณิชกุล เหวนอก จ.นครราชสีมา ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๔๒ เรืออากาศตรี ปรีชา - คุณเกษจงกล บัวเขียว จ.อ่างทอง ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๔๓ แม่ชีเฉลียว อยู่ถาวร วัดต้นสน ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๔๔ แม่ชีกัลยาท นุชประเสริฐ วัดต้นสน ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๔๕ คุณสมจิตร อ่วมสิน จ.ชลบุรี ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๔๖ คุณบุญเรือง - คุณบังอร กิจนี จ.อยุธยา ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๔๗ คุณกรกฏ - คุณอินทิรา ศรีวิชัย จ.อยุธยา ๒,๕๖๖ บาท กองที่ ๔๘ คุณอัมพร วงศโอภาส ๒,๕๖๖ บาท

 

 

ข่าวประชาสัมพันธ์

เชิญบวชเนกขัมมะ ที่วัดต้นสน  อ่างทอง   ได้ทุกวัน  เวลา  ๑๗.๐๐ น 

สั่งน้ำมันว่าน 108 ยาสมุนไพร หนังสือสวดมนต์ ได้ที่ไลน์ไอดี 0861225888   

 

   

                                                     Tiktok วัดต้นสน   Facebook วัดต้นสน

ร่วมสวดมนต์ออนไลน์

ทำวัตรเช้า  เริ่ม ๐๔.๐๐น.

ทำวัตรเย็น  เริ่ม ๑๘.๐๐น.

 

 

*******เขอเชิญบวชเนกขัมมะ วัดต้นสน อ่างทอง วันที่ 3-4-5 มิถุนายน 2566วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ความหมายของ "วันวิสาขบูชา" หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน ในปี 2566 วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566ความหมายของคำว่า "วิสาขบูชา" วิสาขบูชา หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก "วิสา - ขบุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือประสูติ เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน 6 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณอันประเสริฐสูงสุด) สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าวันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้าตรัสรู้ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี การตรัสอริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสของพระพุทธเจ้า จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลกชาวพุทธทั่วไป จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ...* ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ" คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น * ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย * ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ (อริยสัจ 4) หรือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ได้แก่...1. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ2. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ 3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ 4. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์ทั้ง 4 ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป3. ปรินิพพาน เป็นวันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ร่มไม้รัง (ต้นสาละ) คู่ ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 1 ปี วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป) การปรินิพพานของพระพุทธเจ้าก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีป ของโลก เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลด เสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง 45 ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย วันวิสาขบูชา นี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่ สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะ พระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วยใน หนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ว่า"เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายในตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 วัน 3 คือ พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธานส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ 4 เท้า 2 เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป "ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบันการจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุค ทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.2500 ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 18 พฤษภาคม รวม 7 วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล 5 หรือศีล 8 ตามศรัทธาตลอดเวลา 7 วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม 2,500 รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 พฤษภาคม รวม 3 วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ 2,500 รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ 200,000 คน เป็นเวลา 3 วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วยความสำคัญของวันวิสาขบูชาพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานเวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน คือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ จึงถือว่าเป็นวันที่สำคัญของพระพุทธเจ้า หลักธรรมอันเกี่ยวเนื่องจากการประสูติ ตรัสรู้และเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ความกตัญญู อริยสัจ ๔ และความไม่ประมาท ประวัติความเป็นมาส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา เนื่องจากมีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ อย่าง เกิดขึ้นในวันเดียวกันคือ ประสูติ ตรัสรู้ธรรม และปรินิพพาน วันวิสาขบูชาตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ชาวพุทธศาสนิกชนทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชา นี้ และเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ สหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก และเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติ เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติเมื่อ ๒๖๐๐ กว่าปี ล่วงมาแล้ว พระ บิดาพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่าพระนางสิริมหามายา ก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เป็นเจ้าชายในราชสกุลโคตมะ แห่งเมืองกบิลพัสดุ์ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย คำว่า 'พุทธ' หรือ 'พุทธิ' ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีความหมายเหมือนกัน แปลว่า ปัญญา หรือ การตรัสรู้จากคำสอนในพระไตรปิฎกกล่าวว่า พระพุทธเจ้าคือผู้ที่ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงเป็นผู้รู้สัจจธรรม และทรงมีพระญาณทัศนะกว้างไกลที่พระองค์ทรงรู้เห็นกำเนิด และความเป็นไปของสัตว์โลกตลอดภพสาม มีพระพุทธเจ้านับไม่ถ้วนพระองค์ได้อุบัติขึ้นในโลกนี้ เมื่อแต่ละพระองค์ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐแล้ว ทรงสั่งสอนธรรมะเพื่อให้ชาวโลกพ้นจากวัฏสงสารด้วยมหากรุณา จากพระไตรปิฏก "อปทานสูตร และพุทธวงศ์" กล่าวถึงการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ นานนับอสงไขยกว่าที่จะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ แม้ในขุททกนิกาย ชาดก ได้เล่าการสร้างบารมีถึง ๕๔๗ ชาติของพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ มาตลอดกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระชาติสุดท้าย เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเป็นผู้มีบุญที่เพียบพร้อมด้วยสติปัญญา และความเมตตา หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้เพียง ๗ วัน พระมารดาก็สวรรคต พระน้านางคือพระนางปชาบดีโคตมี เป็นผู้บำรุงเลี้ยงรักษา หลังจากประสูติได้ไม่นาน พระบิดาได้อัญเชิญอสิตดาบสมาทำนายอนาคตของเจ้าชายสิทธัตถะ อสิตดาบสแสดงอาการประหลาดต่อหน้าพระที่นั่งคือ หัวเราะและร้องไห้ หัวเราะเพราะดีใจที่ได้เห็นเจ้าชายสิทธัตถะ และได้ทำนายว่าเจ้าชายจะตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน แต่ร้องไห้เพราะอสิตดาบสนั้นจะมีอายุไม่ยืนยาวทันรับฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์นี้ คำทำนายนี้ได้รับการยืนยันจาก โกณฑัญญะ ซึ่งเป็นดาบสอีกท่านหนึ่งที่ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะจะสละราชสมบัติ เมื่อผนวชแล้วจะบรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนดาบสอื่นๆ ล้วนทำนายว่า ถ้าเจ้าชายสิทธัตถะไม่ทรงผนวช จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ คำทำนายดังกล่าวสร้างความตระหนกพระทัยแก่พระเจ้าสุทโธทนะเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงปรารถนาจะให้เจ้าชายสิทธัตถะปกครองแว่นแคว้นสืบทอดราชบัลลังก์ต่อ ..
KmkCC.jpg
UN8oB.jpg

ฟังวิทยุออนไลน์

-8db85d7cd7b2f318.jpeg

3d2ff8875226df675c5da9d950b8d614.png

บทความ

  • สิ่งที่ต้องเตรียม
    สิ่งที่ต้องเตรียม สิ่งที่ต้องเตรียมมาเมื่อมาบวชพราหมณ์/ชีพราหมณ์วัดต้นสน จ.อ่างทอง ๑. ชุดชีพราหมณ์ เ...
  • กำหนดการปฏิบัติธรรม
    กำหนดการปฏิบัติธรรมในแต่ละวัน ๐๔.๐๐ - ๐๖.๐๐ ทำวัตรเช้า ๐๗.๐๐ - ๐๘.๐๐ ฉันภัตตาหารเช้า ...
  • กฐิน
    กฐิน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี บทความจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%90%E0%B8%B...
  • วันเข้าพรรษา
    วันเข้าพรรษา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99...

วิดีโอกิจกรรมต่างๆของทางวัด

Visitors: 198,349